Pressure Safety Valve (วาล์วนิรภัย) VS Pressure Relief Valve (วาล์วลดแรงดัน)

%e0%b8%a7%e0%b8%b2%e0%b8%a5

วันนั้น  http://www.nssteel.co.th/ จะพามาทำความรู้จักกับวาล์วนิรภัย  และวาล์วลดแรงดัน  โดยอุปกรณ์วาล์ว ทั้ง 2 ตัวนี้เป็นอุปกรณ์ความปลอดภัยของระบบ มีหน้าที่หลักคือระบายแรงดันภายในระบบออก ซึ่งจะทำงานเองโดยอัตโนมัติเมื่อมีแรงดันเกินกว่าค่าที่ตั้งไว้ วาล์วทั้งสองชนิดมีความแตกต่างกันด้านการใช้งาน กล่าวคือ Pressu/re Safety Valve จะใช้กับของเหลวที่บีบอัดได้ (Compressible Fluid) เช่น ไอน้ำ หรือ ก๊าซ ซึ่งต้องการระบายความดันอย่างรวดเร็ว สำหรับ Pressure Relief Valve จะใช้กับของเหลวที่บีบอัดไม่ได้ (Non Compressible Fluid) เช่น น้ำ หรือ น้ำมัน ซึ่งจะระบายความดันอย่างช้าๆ

อุปกรณ์วาล์ว ทั้ง 2 ตัวนี้เป็นอุปกรณ์ความปลอดภัยของระบบ มีหน้าที่หลักคือระบายแรงดันภายในระบบออก ซึ่งจะทำงานเองโดยอัตโนมัติเมื่อมีแรงดันเกินกว่าค่าที่ตั้งไว้ วาล์วทั้งสองชนิดมีความแตกต่างกันด้านการใช้งาน กล่าวคือ Pressure Safety Valve จะใช้กับของเหลวที่บีบอัดได้ (Compressible Fluid) เช่น ไอน้ำ หรือ ก๊าซ ซึ่งต้องการระบายความดันอย่างรวดเร็ว สำหรับ Pressure Relief Valve จะใช้กับของเหลวที่บีบอัดไม่ได้ (Non Compressible Fluid) เช่น น้ำ หรือ น้ำมัน ซึ่งจะระบายความดันอย่างช้าๆ โดยวาล์วทั้งสองชนิดมีส่วนประกอบที่คล้ายคลึงกันได้แก่

1.Valve Body: ส่วนใหญ่ผลิตจากเหล็กหล่อ หรือ วัสดุอื่นตามการใช้งาน โดยเป็นโครงสร้างที่ใช้ติดตั้งกับท่อหรือถังความดันที่จะทำการปกป้อง

2.Disc: ลักษณะเป็นแผ่นกลมที่ใช้กดปิดกั้งของเหลวไว้ โดยอาศัยแรงกดจากสปริง โดย Disc นี้จะทำหน้าที่รับแรงดันไว้ทั้งหมด

3.Stem: เป็นส่วนที่รับแรงกดจากสปริงและส่งแรงกดไปยัง Disc โดยมีหน้าที่เป็นแกนบังคับให้ส่วนที่เคลื่อนไหว เคลื่อนที่ตามแนวแกน

4.Spring:  เป็นส่วนที่ก่อให้เกิดแรงดันต้านทานความดันที่ Disc การปรับ Adjust Screw ให้สปริงยืดหดตัวแตกต่างกันส่งผลให้แรงกดที่ Disc มีค่าแตกต่างกัน จึงเป็นหลักการสำคัญที่ใช้กำหนดค่าความดันที่จะให้วาล์วทำการระบาย (Set Pressure)

  1. Adjust Screw: ใช้ปรับระยะยืด หด ของสปริง จุดนี้เองที่ใช้ทำการปรับตั้งค่าความดัน

การทำงานของ Pressure Safety Valve โดยทั่วไปเพียงแค่เมื่อความดันภายในท่อหรือถังมีค่ามากกว่า Set Pressure แรงจากความดันที่กระทำต่อ Disc จะมีค่ามากกว่าแรงที่กดจากสปริง ทำให้ Disc เกิดการยกตัวขึ้น และระบายความดันส่วนเกินออกมา เมื่อความดันภายในระบบลดลงแล้ว Disc ก็จะเคลื่อนที่เข้าสู่ตำแหน่งและรับความดันภายในเช่นเดิม